ใช้ศัพท์ให้ทันสมัย ก็ต้องเรียกว่า ประเทศไทยเราโดนกระชับพื้นที่เข้ามาเรื่อยๆแล้วสำหรับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID19 เพราะสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รายล้อมประเทศเราอยู่นั้น การระบาดรุนแรงขึ้นมากโดยเฉพาะประเทศพม่า และมีแนวโน้มว่าจะล๊อคดาวน์ร่างกุ้งเร็ววันนี้ ประเทศไทยเราที่มีชายแดนติดกันแบบเดินไปมาหาสู่เล็ดลอดกันไปมาอย่างสะดวก หนักสุดเห็นจะเป็นอินโดนีเซีย รองลงมาก็มาเลเซียที่กำลังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อนิวไฮท์เพิ่มขึ้นทุกวันจากหลักสิบ เป็นหลักร้อย จนถึงวันที่เขียนบทความนี้กลายเป็นวันละหลายร้อยแล้ว แต่การควบคุมชายแดนของไทยกับมาเลเซียนั้นพอจะไว้ใจได้หน่อย ว่ามีมาตรการเข้มแข็งทั้งสองฝั่งประเทศ แต่ทางพม่าน่าห่วงเพราะมีแนวชายแดนเชื่อมต่อ ยาวต่อเนื่องหลายร้อยไมล์ มีความเป็นไปได้สูงที่โรคจะข้ามพรมแดนเข้ามา ไม่ว่าจะผ่านทางบุคคล หรือ ผ่านทางการปนเปื้อนสินค้า เพราะเชื้อรอบสองนี้ไม่ใช่เชื้อดั่งเดิมจากหวู่ฮั่น แต่เป็นเชื้อที่ผ่านการกลายพันธุ์มาแล้วแพร่พันธุ์ระบาดง่ายกว่าเชื้อเดิมหลายเท่า พม่าเองก็รับเชื้อสายพันธุ์นี้ผ่านจากชายแดน บังคลาเทศ บังคลาเทศก็รับช่วงต่อมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง แล้วช่วงเวลาที่เชื้อเดินทางมาถึงชายแดนประเทศไทย ก็เป็นช่วงเวลาปลายฝนต้นหนาวพอดี เชื้อจะแข็งแรงมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าช่วงอากาศร้อน ตามเหตุตามผลตามเหตุการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยเรา “รอดยาก” แต่เรายังมีเวลาที่จะเตรียมตัวรับมือ สร้างค่ายคูประตูรบ รับมือกันพอสมควร ตอนนี้จะส่งม้าเร็วไปขอปืนใหญ่ที่กรุงศรีอยุทธยามาช่วย กรุงศรีเองก็แย่เหลียวซ้ายแลขวาจะหาอะไรมาหยับจับพออุ่นใจได้ก็ไม่มี วัคซีน COVIT19 อันเป็นความหวังเดียวที่มี ก็มีแต่ข่าวไม่มียา และคาดว่ากว่าจะยาจริงมาใช้ฉีดได้อีกคงเป็นปีๆ ทางเดียวที่พอเป็นไปได้ที่จะนำพาชีวิตน้อยผ่านพ้นมหาวิกฤติการณ์นี้ไปได้ก็คือ การช่วยตัวเองเท่านั้นครับ การช่วยตัวเองตอนนี้มีสองทาง คือ
๑.หลีกเลี่ยงที่จะนำตัวเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง และ ทำตัวให้เกิดความเสี่ยง
๒. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีเข้มแข็งมากขึ้น โดยเราจะเน้นให้ความรู้และหลักปฏิบัติในการเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งทางอาหารการกิน และการปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ภูมิคุ้มกันของเรามีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มต้นที่การเสริมภูมิต้านทานด้วยอาหาร ซึ่งทำได้สองวิธีอีกเช่นกันคือทางเสริมภูมิด้วยอาหาร และ เสริมภูมิด้วยการปฏิบัติตัว การเสริมภูมิด้วยอาหารเริ่มต้นที่
๑.เสริมวิตามิน ‘วิตามินซี’ เป็นสารอาหารที่สำคัญมากต่อร่างกาย มีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมในการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน เพิ่มความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาว ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยมากวิตามินซีจะอยู่ในกลุ่มของอาหารประเภทผักและผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่างๆ พบมากในส้ม ฝรั่ง สับปะรด มะขาม สตอร์เบอร์รี่ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ
๒.เสริมธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาพบว่าแร่ธาตุสังกะสีช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเรื่องของการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดที–เซลล์ (T-Cell) สำหรับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีมากได้แก่ หอยนางรม เนื้อสัตว์ อาหารทะเล จมูกถั่วเหลือง ตับ ไข่
๓.เสริมวิตามินดี เนื่องจากคนเราได้รับวิตามินดีจากแสงแดดเป็นหลัก เมื่อก่อนคนไทยเราจึงไม่ค่อยพบ ปัญหาขาดวิตามินดี กันสักเท่าไหร่ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ตั้งอยู่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่จากงานวิจัยในปัจจุบันกลับพบว่า คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพเกินครึ่ง มีภาวะขาดวิตามินดี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ การสร้างตึกสูงมีเพิ่มมากขึ้น ร่วมกับพฤติกรรมการหลีกเสี่ยงแสงแดด และไลฟ์สไตล์คนเมืองส่วนใหญ่ใช้เวลาแต่ในตึกไม่ค่อยได้เจอแสงแดด การตากแดดยามเช้าเสริมวิตามินดีเสริมการทำงานของระบบภูมิต้านทาน ผิวหนังจะสร้างวิตามินดีได้อย่างเพียงพอ หมายถึงเราต้องใส่เสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น แล้วออกไปตากแดดอย่างน้อย เป็นเวลา 15 นาที ทุกวันถึงจะพอเพียง วิตามินดีมีหน้าที่ช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้ดีเราสามารถได้รับวิตามินดี ถ้าคิดว่าชีวิตประจำวันเราไม่ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดมากพอเพียงก็ควรเสริมด้วย การรับประทานอาหารจำพวก ปลาทะเลที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เป็นต้น
๔.เสริมวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดความเสียหายของเซลล์จากกระบวนการอักเสบ จากงานวิจัยพบว่าการเสริมวิตามินอี มากกว่า 60 มก. ต่อวัน สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดการติดเชื้อในผู้สูงอายุได้กินอาหารปกติที่เป็นแหล่งวิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักคะน้า เมล็ดอัลมอนด์ อะโวคาโด มะละกอ ข้าวโพด เป็นต้น
๔.โปรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ ว่ากันว่าระบบทางเดินอาหาร เป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายในลำไส้คนเรามีทั้ง จุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ที่ก่อให้เกิดโรค และกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย หรือที่เรียกว่า จุลินทรีย์สุขภาพในขณะที่ร่างกายแข็งแรง จุลินทรีย์สุขภาพ จะช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ และยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองใต้เยื่อบุลำไส้ ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แหล่งอาหารที่มีโปรไบโอติกสูงได้แก่ โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว กิมจิ แตงกวาดอง ในชีสบางชนิด อย่างเชดด้าชีส หรือมอสซาเรลลาชีส เป็นต้นการทานโปรไบโอติกให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรจะต้องทานพร้อมสารอาหารอีกตัวหนึ่ง นั้นก็คือ “พรีไบโอติก (Pre-biotic)”
พรีไบโอติก ก็คืออาหารของ โปรไบโอติกนั่นเอง เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ของเราเกิดการต่อสู้แย่งชิงพื้นที่ระหว่างสายพันธุ์ดีกับสายพันธุ์เลวอยู่ตลอดเวลา พรีไบโอติกเปรียบเสมือน “เสบียง” ของกองทัพ ที่ข่วยให้โปรไบโอติกในลำไส้เข็มแข็ง เพิ่มจำนวนได้มาก ผลของการทานโปรไบโอติกเดี่ยวๆ เปรียบเทียบกับทานพร้อมพรีไบโอติก อาจมีผลดีมากน้อย ต่างกันได้มากถึง 200% – 300% อาหารของเราที่เป็นอาหารของ โปรไบโอติกด้วย มีเมล็ดธัญพืชตระกูลบถั่ว เห็ด แอปเปิ้ล กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง หอมหัวใหญ่ แรดิชิโอ (ผักกาดม่วง) กะหล่ำปลี อะโวคาโด ฝรั่งและ กระเทียม เป็นต้น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย อาจจะต้องทานดิบ หรือโดนความร้อนให้น้อยที่สุด เพราะพรีไบโอติกส์จะลดปริมาณลงเมื่อได้รับความร้อน
๕.เสริมอาวุธด้วย อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อนุมูลอิสระเป็นตัวการบั่นทอนเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นจึงควรกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มพืชผัก เช่น กะหล่ำปลีม่วง ผักกะเฉด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบมันปู และใบส้มแป้น และก็ควรกินอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์สูง เช่น พริกหวานสีแดง แครอต ผักชีล้อม ตำลึง ฟักทอง อาหารที่มีสารประกอบซัลเฟอร์ ซึ่งพบในพืชที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม หัวผักกาด เป็นต้นเอลเดอร์เบอร์รี่ อิคินาเซีย โสม ขมิ้นชัน นมน้ำเหลืองแม่วัว สาหร่ายเกลียวทอง